ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาเกี่ยวกับสายตาเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่กวนใจหลาย ๆ ท่านเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นสิ่งที่รบกวนการมองเห็น ยิ่งสายตาสั้นด้วยแล้วจะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากเลยทีเดียว เพราะนอกจากที่คุณจะมองไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจนแล้ว เมื่อคุณต้องเพ่งสิ่งของนาน ๆ จะทำให้มีอาการปวดหัวตามมาด้วยเช่นเดียวกัน และในปัจจุบันสายตาสั้นมักจะเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กวัยเรียน หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี และแน่นอนอยู่แล้วว่าภาวะสายตาสั้นไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นใครที่กำลังประสบปัญหานี้มาดูกันเลยว่า วิธีการรักษาสายตาสั้นที่ดีที่สุด จะมีวิธีการรักษาอย่างไร 

รักษาสายตาสั้นด้วยการผ่าตัดเลสิค ทำง่าย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด 

ความจริงแล้วการรักษาสายตาสั้นจะสามารถรักษาได้หลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การใส่แว่น หรือการใส่คอนแทคเลนส์ แต่ทั้งนี้การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้จะไม่ทำให้คุณหายขาด แต่จะทำให้คุณกลับมามองเห็นได้ชัดเจนและเป็นปกติ แต่สำหรับวิธีการรักษาสายตาสั้นให้หายโดยที่คุณจะกลับมาใช้ชีวิตได้แบบมองเห็นโดยไม่ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์นั้น คือ การทำเลสิคนั่นเอง โดยการทำเลสิคจะเป็นการใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer Laser) ในการปรับความโค้งของกระจกตาให้แบนลง เพื่อจะให้จุดรวมแสงตกกระทบบริเวณเรตินาพอดี ซึ่งต้องบอกเลยว่าการทำเลเซอร์ชนิดนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แถมยังไม่ก่อให้เกิดความร้อนขึ้นเช่นกัน อีกทั้งยังมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่ทุกท่านจำเป็นต้องรู้ก่อนทำอีกด้วย แต่จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย 

  • จุดเด่นของการทำเลสิค : สำหรับผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดเลสิคและได้รับการพักฟื้นเรียบร้อยแล้ว จะสามารถกลับมามองเห็นได้แบบปกติโดยที่คุณไม่ต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์อีกต่อไป 
  • ข้อจำกัดของการทำเลสิค : หากคุณทำเลสิคแล้วและค่าสายตาเปลี่ยนแปลง หรือกลับมาสายตาสั้นอีกครั้ง การผ่าตัดครั้งต่อไปจะทำได้ยาก และหลังจากทำเลสิคบางท่านอาจจะมีอาการเห็นแสงฟุ้งกระจาย หรือมีความไวต่อแสงมากกว่าปกติ 

สำหรับการรักษาสายตาสั้นด้วยวิธีการทำเลสิคนั้น จะเหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีกระจกตาที่หนาเพียงพอต่อการทำ เพราะหากใครที่มีกระจกตาบางเกินไป อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงในการผ่าตัดได้ อีกทั้งผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดจะต้องมีสุขภาพตาที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายระหว่างการผ่าตัดนั่นเอง เพราะฉะนั้นก่อนเข้ารับการผ่าตัด ทุกท่านจะต้องได้รับการประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน